28 เมษายน 2552

โรคเบาหวานความดัน







หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิพรเจริญ โรงพยาบาลพรเจริญ จ.หนองคาย ออกรณรงค์ให้ความรู้และตรวจคัดกรองโรคเบาหวานความดัน โดยร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน ให้บริการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เฝ้าระวังและ ค้นหากลุ่มเสี่ยง คัดกรองผู้ป่วยในชุมชน ส่งต่อและดูแลต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ และมีการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ และสร้างเสริมสุขภาพ ตลอดจนได้มีข้อมูลสุขภาพที่จำเป็น และสอดคล้องกับปัญหาการเกิดโรคในชุมชน โดยออกดำเนินการใน 11 หมู่บ้าน ต.พรเจริญ ในรอบเดือนเมษายน 2552

20 เมษายน 2552

โรคมะเร็งปากมดลูก



หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิพรเจริญ โรงพยาบาลพรเจริญ จ.หนองคาย รณรงค์ให้ความรู้และบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2552 เพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก ของหญิงกลุ่มอายุ 35-60 ปีในพื้นที่

เพลงรณรงค์มะเร็งปากมดลูก

แก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน







หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิพรเจริญ โรงพยาบาลพรเจริญ จ.หนองคาย ประชุมร่วมกับชาวบ้าน เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2552 ให้ความรู้เรื่องปัญหาสาธารณสุขในหมู่บ้าน ค้นหาปัญหาด้านสุขภาพของชุมชน หาแนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพร่วมกัน สร้างชุมชนเข้มแข็ง และได้คัดเลือกปัญหาโรคเบาหวานในชุมชน เพื่อวางแผนแก้ไขต่อไป

18 เมษายน 2552

พัฒนาอนามัยชนบทและสร้างชุมชนเข้มแข็ง




หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิพรเจริญ โรงพยาบาลพรเจริญ จ.หนองคาย ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำสุขภาพในหมู่บ้านเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2552 เพื่อวางแผนคัดเลือกปัญหาสาธารณสุขในหมู่บ้าน โดยพิจารณาตามขนาดของปัญหา ความรุนแรงของปัญหา ความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา ความตระหนักและความร่วมมือของชุมชน

17 เมษายน 2552

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ องค์ประกอบที่ 1

หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิพรเจริญ โรงพยาบาลพรเจริญ จ.หนองคาย เป็นแกนหลักงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลพรเจริญ มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (HPH) มี 7 องค์ประกอบ
องค์ประกอบที่ 1 การนำองค์กรและการบริหาร
วิสัยทัศน์ - โรงพยาบาลพรเจริญเป็นเลิศด้านบริการ ชุมชนร่วมสร้างสุขภาพ
พันธกิจ - โรงพยาบาลพรเจริญให้บริการสุขภาพทั้ง 4 มิติแบบองค์รวมตามมาตรฐาน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อให้ผู้รับบริการปลอดภัย พึงพอใจ สุขภาพดี ดูแลตนเองได้
นโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลพรเจริญ
โรงพยาบาลพรเจริญ มุ่งมั่นพัฒนากระบวนการดำเนินงานของโรงพยาบาลให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โดยผสมผสานการส่งเสริมสุขภาพกับงานด้านการรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพและการป้องกันโรค เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมโรงพยาบาลและชุมชนในการสร้างสุขภาพแบบองค์รวม โดยคำนึงถึงวิถีชุมชนจึงได้กำหนดนโยบายไว้ดังนี้
1. ให้มีการจัดทำแผนงานสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมท้องถิ่น
2. จัดให้มีบริการสร้างเสริมสุขภาพที่สนองตอบต่อความต้องการของผู้ให้บริการ ผู้รับบริการและชุมชน
3. พัฒนาความรู้ ทัศนคติแก่บุคลากรทุกระดับ จนเกิดวัฒนธรรมองค์กรเพื่อการส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน
4. พัฒนาสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลให้เหมาะสมและเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และต้นแบบของชุมชน
5. พัฒนางานสาธารณสุขเชิงรุกโดยเน้นการสร้างสุขภาพแบบองค์รวม
6. สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือของโรงพยาบาล เพื่อพัฒนาสู่การเป็นชุมชนเข้มแข็งในการส่งเสริมสุขภาพ
7. จัดให้มีกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลและชุมชนอย่างต่อเนื่อง

16 เมษายน 2552

วัดส่งเสริมสุขภาพ






หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิพรเจริญ โรงพยาบาลพรเจริญ จังหวัดหนองคาย ร่วมกับ ผู้นำชุมชน และ อสม. จัดพิธีเปิดป้ายวัดส่งเสริมสุขภาพ อ.พรเจริญ ณ วัดบ้านโคกอุดม ต.พรเจริญ เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพของอำเภอพรเจริญ โดยมีนายอำเภอพรเจริญเป็นประธานเปิดงาน เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2552
คุณสมบัติ(ข้อกำหนด)ของวัดส่งเสริมสุขภาพ
1) สะอาด ร่มรื่น ด้วยอาคาร สถานที่ บริเวณลานวัด ลานใจและสภาพแวดล้อมในวัดที่ถูกหลักสุขภาพอนามัย
2) สงบ ร่มเย็น ด้วยการเทศนา แสดงธรรม ปฏิบัติธรรม เผยแพร่ธรรมประสานใจทั้งพระสงฆ์และฆราวาส
3) สุขภาพร่วมสร้าง ด้วยการดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ สามเณร บุคลากรภายในวัดและประชาชนด้วยกิจกรรมที่เอื้อต่อการดูแลส่งเสริมรักษาสุขภาพของชุมชน
4) ศิลปะ ร่วมจิตวิญญาณ ด้วยการดำรง รักษา สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

10 เมษายน 2552

ความรู้ เรื่องวัณโรค

ความรู้ เรื่องวัณโรคสำหรับ อสม. และประชาชน
1. วัณโรค เกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย เป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย แต่ร้อยละ 80 มักจะเกิดที่ปอด
2. เชื้อวัณโรคจากผู้ป่วยแพร่ ติดต่อ สู่คนปกติ ทางอากาศ โดยวิธี หายใจ , ไอ , จาม รดกัน
3. ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ได้แก่
- ผู้สัมผัสร่วมบ้าน
- ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น DM , ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วย Aids , ไตวาย
4. อาการของผู้ป่วยวัณโรค
ที่สำคัญ ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์
และอาการอื่นๆ ร่วม ไอเป็นเลือด หรือมีเสมหะปนเลือด
ไข้ตอนบ่ายหรือเย็น
อ่อนเพลีย เบื่ออาหารน้ำหนักลด
มักมีเหงื่อออกตอนกลางคืน
5. วิธีป้องกันไม่ให้เป็นวัณโรค
• นำเด็กแรกเกิดไปรับวัคซีน BCG
• ผู้อยู่ร่วมบ้าน TB ต้องตรวจเสมหะ และ X – ray ปอดปีละครั้ง
• จัดที่อยู่อาศัยผู้ป่วย TB ให้อากาศถ่ายเทสะดวก และแสงแดงส่องถึง
• มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เพื่อป้องกันโรค เบาหวาน ไตวาย Aid
6. เมื่อป่วยเป็นวัณโรค ต้องใช้เวลารักษา 6 เดือน
7. การปฏิบัติตัวที่สำคัญ เมื่อป่วยเป็นวัณโรค คือ ห้ามหยุดยา เพราะจะทำให้ กลายเป็น
วัณโรคดื้อยา และจะรักษายากขึ้น
8. DOT คือ การรักษาวัณโรคด้วยยาระยะ สั้น แบบมีพี่เลี้ยง หมายถึง มีผู้ดูแลการกินยาของผู้ป่วย
9. หัวใจสำคัญของการควบคุมวัณโรค ด้วยระบบยา ระยะสั้น แบบมีพี่เลี้ยง ( DOT )
1. ผู้ป่วยได้รับการกินยาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
2. การมีส่วนร่วมของชุมชนและญาติของผู้ป่วย
3. ความสะดวกในการมารับบริการและการยอมรับการรักษาของผู้ป่วย
4. การควบคุม คุณภาพให้บริการ และ การรักษาผู้ป่วย
10. การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคในช่วงการรักษา 2 เดือนแรก ต้องเยี่ยม ทุกสัปดาห์ หรือเดือนละ 4 ครั้ง เนื่องจากเป็นระยะเข้มข้นของการรักษา ผู้ป่วยอาจมีผลข้างเคียงจากการกินยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นคัน จะได้ให้คำแนะนำได้
11. บทบาทของ อสม. สามารถเป็นพี่เลี้ยงผู้ป่วยวัณโรคได้โดยทำหน้าที่
1. ให้ผู้ป่วยกินยาต่อเนื่อง และบันทึกการกินยา
2. สังเกตหรือถามผู้ป่วยถึงอาการแพ้ยา
3. ให้กำลังใจ เป็นที่ปรึกษาด้านสังคม

คลังบทความของบล็อก