19 มิถุนายน 2557

KPI Template ตัวชี้วัด มาตรฐานคลินิกวัณโรคคุณภาพ

KPI Template ตัวชี้วัด มาตรฐานคลินิกวัณโรคคุณภาพ
หน่วยบริการปฐมภูมิ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลพรเจริญ
แนวทางการประเมินมาตรฐาน “คลินิกวัณโรคคุณภาพ ”
 การประเมิน คะแนนเต็ม 100 คะแนน ประกอบด้วย 10 มาตรฐาน รวม 20 ตัวชี้วัด แต่ละตัวชี้วัดมี 5 คะแนน 
มาตรฐานที่ 1 การตอบสนองเชิงนโยบาย (Political commitment)
1.1 มีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบและศักยภาพในการปฏิบัติงานคลินิกวัณโรค
5 = มีผู้รับผิดชอบอย่างน้อย 2 คน ผ่านการอบรม 1 คน 4 = มีผู้รับผิดชอบ 1 คน ผ่านการอบรม 1 คน 3 = มีผู้รับผิดชอบอย่างน้อย 2 คน ไม่ผ่านการอบรมทั้ง 2 คน
2 = มีผู้รับผิดชอบอย่างน้อย 1 คน ไม่ผ่านการอบรม
1 = มีพยาบาลได้รับมอบหมายให้หมุนเวียนมาปฏิบัติงานที่คลินิกวัณโรค ซึ่งไม่ได้เป็นผู้ผิดชอบที่แน่นอนและมีการขึ้นทะเบียน แต่มีการจัดทำทะเบียนและจัดทำรายงาน
0 = มีพยาบาลได้รับมอบหมายให้หมุนเวียนมาปฏิบัติงานที่คลินิกวัณโรค ซึ่งไม่ได้เป็นผู้ผิดชอบที่แน่นอนและไม่มีมีการขึ้นทะเบียน ไม่มีการจัดทำทะเบียนและจัดทำรายงาน
1.2 มีกิจกรรมรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานวัณโรคในภาพรวมของโรงพยาบาล
5 = มีรายงานอย่างน้อย 5 ครั้ง ใน 1 ปี 4 = มีรายงานอย่างน้อย 4 ครั้ง ใน 1 ปี
3 = มีรายงานอย่างน้อย 3 ครั้ง ใน 1 ปี 2 = มีรายงานอย่างน้อย 2 ครั้ง ใน 1 ปี
1 = มีรายงานอย่างน้อย 1 ครั้ง ใน 1 ปี 0 = ไม่มีรายงาน

มาตรฐานที่ 2 การค้นหาผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก (Early TB Case detection )
2.1 จัดทำทะเบียนชันสูตรวัณโรคครบถ้วน
5 = ครบถ้วนตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป  4 = ครบถ้วนตั้งแต่ร้อยละ 75-79
3 = ครบถ้วนตั้งแต่ร้อยละ 70-74      2 = ครบถ้วนตั้งแต่ร้อยละ 65-69
1 = ครบถ้วนตั้งแต่ร้อยละ 60-64      0 = ครบถ้วนต่ำกว่าร้อยละ 60
2.2 การวินิจฉัยวัณโรคปอดเสมหะลบในผู้ใหญ่ทุกราย ตรวจเสมหะ 3 ตัวอย่างโดย 1 ตัวอย่างเก็บหลังตื่นนอนตอนเช้า ยกเว้นห้องปฏิบัติการที่ผ่านการประเมินคุณภาพ (EQA) ให้ตรวจเสมหะ 2 ตัวอย่าง
5 = ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป   4 = ร้อยละ 75-79
3 = ร้อยละ 70-74      2 = ร้อยละ 65-69
1 = ร้อยละ 60-64 0 = ต่ำกว่าร้อยละ 60
มาตรฐานที่ 3 การวินิจฉัยวัณโรค ( TB Diagnosis )
3.1 การตรวจชันสูตรเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ผ่านการประเมินคุณภาพตามวิธีการและเกณฑ์ของกรมควบคุมโรค (EQA/LQAS)
5 = มีระบบเก็บสไลด์และไม่มี HFP/HFN ไม่มี QE
4 = มีระบบเก็บสไลด์และไม่มี HFP/HFN ไม่มี LFP/LFN มี QE
3 = มีระบบเก็บสไลด์และไม่มี HFP/HFN มี LFP/LFN
2 = มีระบบเก็บสไลด์ แต่ไม่มี feedback ของผลการอ่านล่าสุด  1 = มี HFP/HFN
0 = ไม่มีระบบเก็บสไลด์เพื่อการสุ่มตรวจ
3.2 ร้อยละของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อรายใหม่ที่เป็นผู้ใหญ่ต่อผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่รายใหม่ทั้งหมด
5 = ร้อยละ 55-65      4 = ร้อยละ 50-54 หรือ 66-70    3 = ร้อยละ 45-49หรือ71-75
2 = ร้อยละ 40-44หรือ76-80      1 = ร้อยละ 35 - 39 หรือ 81 - 85
0 = น้อยกว่าร้อยละ 35 หรือ มากกว่าร้อยละ 55  
มาตรฐานที่ 4 การรักษาวัณโรค (TB Treatment )
4.1 ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทุกรายได้รับการรักษาด้วยระบบยา 2HRZE/4HR
5 = ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป    4 = ร้อยละ 75-79  3 = ร้อยละ 70-74  2 = ร้อยละ 65-69
1 = ร้อยละ 60-64    0 = ต่ำกว่าร้อยละ 60
4.2 ผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อมีพี่เลี้ยงดูแลการกินยา (DOT) หมายถึงผู้ป่วย รายใหม่ กลับเป็นซ้ำ ขาดยาแล้วกลับมารักษาใหม่ ผู้ป่วยการรักษาล้มเหลว และ มีพี่เลี้ยงมากว่าร้อยละ 50 เป็นบุคลากรสาธารณสุข ถ้าไม่ใช่บุคลากรสาธารณสุข (ต้องไม่ใช่”บุคคลในบ้านเดียวกัน”) ต้องได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านตามเกณฑ์
5 = ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป    4 = ร้อยละ 40-49    3 = ร้อยละ 30-39    2 = ร้อยละ 20-29
1 = ร้อยละ 10-19 0 = ต่ำกว่าร้อยละ 10
มาตรฐานที่ 5 การบริหารจัดการยาวัณโรค (Anti TB Drugs Management)
5.1 ยาวัณโรคแนวที่หนึ่ง (First Line Drug) มีเพียงพอและมีการบริบาลทางเภสัชกรรม (ต้องเป็นเภสัชกรดำเนินการทุกขั้นตอนตั้งแต่บรรจุยาจนถึงจ่ายยาให้ผู้ป่วย)
5 = มียารักษาวัณโรคพื้นฐานครบทุกรายการเพียงพอและมีการบริบาลทางเภสัชกรรม อย่างน้อย 1 ครั้งตลอดการรักษา โดยมีเอกสารหรือมีการบันทึกการบริบาลทางเภสัชกรรม
4 = มียารักษาวัณโรคพื้นฐานครบทุกรายการเพียงพอและมีการบริบาลทางเภสัชกรรม อย่างน้อย 1 ครั้งตลอดการรักษา แต่ไม่มีเอกสารหรือไม่มีการบันทึกการบริบาลทางเภสัชกรรม
3 = มียารักษาวัณโรคพื้นฐานครบทุกรายการเพียงพอแต่ไม่มีการบริบาลทางเภสัชกรรม
2 = มียารักษาวัณโรคพื้นฐานขาด 1 รายการ
1 = มียารักษาวัณโรคพื้นฐานขาด 2 รายการ   0 = มียารักษาวัณโรคพื้นฐานขาดมากกว่า 2 รายการ
5.2 มียาวัณโรคแนวที่หนึ่ง (First Line Drug) มีคุณภาพและมีการจัดเก็บตามมาตรฐาน
5 = คลังยาและสถานที่ใดๆที่มีการเก็บยาไว้นานเกิน1เดือน มียาที่มีลักษณะทางกายภาพภายนอกปกติ มีการจัดเก็บตามมาตรฐานและมีการจดบันทึกระดับอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ทุกวัน
 4 = คลังยาและสถานที่ใดๆที่มีการเก็บยาไว้นานเกิน1เดือน มียาที่มีลักษณะทางกายภาพภายนอกปกติ มีการจัดเก็บตามมาตรฐานและมีการจดบันทึกระดับอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ไม่ทุกวัน
3 = คลังยาและสถานที่ใดๆที่มีการเก็บยาไว้นานเกิน1เดือน มียาที่มีลักษณะทางกายภาพภายนอกปกติ แต่ไม่จัดเก็บตามมาตรฐานบางข้อในคำอธิบายตามคู่มือข้อ 2.1-2.4
2 = คลังยาและสถานที่ใดๆที่มีการเก็บยาไว้นานเกิน1เดือน มียาที่มีลักษณะทางกายภาพภายนอกปกติ แต่ไม่จัดเก็บตามมาตรฐานทุกข้อในคำอธิบายตามคู่มือข้อ 2.1-2.4
1 = คลังยาและสถานที่ใดๆที่มีการเก็บยาไว้นานเกิน1เดือน มียาที่มีลักษณะทางกายภาพภายนอกผิดปกติ
0 = คลังยาและสถานที่ใดๆที่มีการเก็บยาไว้นานเกิน1เดือน มียามากกว่า 1 รายการ ที่มีลักษณะทางกายภาพภายนอกผิดปกติ  
มาตรฐานที่ 6 ทะเบียนและรายงานวัณโรค (TB Records and Reports) ข้อมูลอย่างครบถ้วน ในทะเบียน TB 03 คือ อายุ เพศ กลุ่มผู้ป่วย วัน/เดือน/ปี ที่ขึ้นทะเบียน ผลเสมหะก่อนรักษา อวัยวะที่เป็นวัณโรค(ปอด/นอกปอด) ระบบยาที่ใช้
6.1 การขึ้นทะเบียนผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อรายใหม่ทุกรายและกรอกข้อมูลอย่างครบถ้วน
5 = ขึ้นทะเบียนครบทุกรายและกรอกข้อมูลครบถ้วนตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป
4 = ขึ้นทะเบียนครบทุกรายและกรอกข้อมูลครบถ้วนตั้งแต่ร้อยละ 75-79
3 = ขึ้นทะเบียนครบทุกรายและกรอกข้อมูลครบถ้วนตั้งแต่ร้อยละ 70-74
2 = ขึ้นทะเบียนครบทุกรายและกรอกข้อมูลครบถ้วนตั้งแต่ร้อยละ 65-69
1 = ขึ้นทะเบียนครบทุกรายและกรอกข้อมูลครบถ้วนตั้งแต่ร้อยละ 60-64
0 = ขึ้นทะเบียนไม่ครบทุกรายและกรอกข้อมูลครบถ้วนต่ำกว่าร้อยละ 60
6.2 การจัดทำรายงานรอบ 3 เดือนอย่างครบถ้วน และส่งรายงานจาก รพ.ถึง สสจ.ทันเวลาภายใน 14 วันหลังสิ้น Cohort (รายงาน TB07, TB07/1 , TB08 , TB/HIV 01, PMDT 07)
5 = มีการจัดทำรายงานรอบ 3 เดือน ของคนไทยครบทั้ง 5 รายงานและส่งให้ สสจ.ทันเวลาภายใน 14 วัน หลังสิ้น Cohort
4 = มีการจัดทำรายงานรอบ 3 เดือน ของคนไทยครบทั้ง 5 รายงานและส่งให้ สสจ.ไม่ทันเวลาภายใน 14 วัน หลังสิ้น Cohort
3 = มีการจัดทำรายงานรอบ 3 เดือน ของคนไทยครบอย่างน้อย 4 รายงานและส่งให้ สสจ.ทันเวลาภายใน 14 วัน หลังสิ้น Cohort
2 = มีการจัดทำรายงานรอบ 3 เดือน ของคนไทยครบอย่างน้อย 4 รายงานและส่งให้ สสจ.ไม่ทันเวลาภายใน 14 วัน หลังสิ้น Cohort
1 = มีการจัดทำรายงานรอบ 3 เดือน ของคนไทยครบอย่างน้อย 3 รายงานและส่งให้ สสจ.ทันเวลาภายใน 14 วัน หลังสิ้น Cohort
0 = มีการจัดทำรายงานรอบ 3 เดือน ของคนไทยครบน้อยกว่า 3 รายงาน  
มาตรฐานที่ 7 การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในสถานพยาบาล (TB Infection control)
7.1 บริการช่องทางด่วน/พิเศษ สำหรับตรวจผู้มีอาการสงสัยวัณโรคและผู้ป่วยวัณโรคเมื่อมารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (แผนกผู้ป่วยนอก แผนกเอกซเรย์ แผนกชันสูตร และแผนกเภสัชกรรม) โดย 1 การแจ้งเวียนรายละเอียดช่องทางด่วน/พิเศษ ให้ทุกแผนกที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาล เริ่มตั้งแต่วินิจฉัยจนถึงสิ้นสุดการรักษา 2.มีกระบวนการคัดกรองผู้มีอาการสงสัย และผู้ป่วยวัณโรค ได้แก่ แบบฟอร์มคัดกรองวัณโรค มีการบันทึกผลการวินิจฉัยของผู้มีอาการสงสัยวัณโรค 3.มีป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำให้ผู้ที่มีอาการไอสวมหน้ากากอนามัยเพื่อปิดปากและจมูก(Surgical mask) 4.การทำสัญลักษณ์ เช่น สติ๊กเกอร์สีแดง ที่บัตรผู้ป่วยเพื่อการบริบาลที่รวดเร็วสำหรับช่องทางด่วน/พิเศษ 5.บุคลากรของจุดตรวจต่าง ๆ ได้แก่ แผนกผู้ป่วยนอก แผนกเอกซเรย์ แผนกชันสูตร และแผนกเภสัชกรรม อธิบายความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้ช่องทางด่วน/พิเศษได้ถูกต้อง
5 = มี 5 ข้อตามคำอธิบายช่องทางด่วน     4 = มี 4 ข้อตามคำอธิบายช่องทางด่วน
3 = มี 3 ข้อตามคำอธิบายช่องทางด่วน     2 = มี 2 ข้อตามคำอธิบายช่องทางด่วน
1 = มี 1 ข้อตามคำอธิบายช่องทางด่วน     0 = ไม่มีเลยตามคำอธิบายช่องทางด่วน
7.2 การจัดสถานที่ขอคลินิกวัณโรคแยกห่างจากคลินิกผู้ป่วยอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค 1. คลินิกผู้ป่วยอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคหมายถึง คลินิกที่รักษาผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น คลินิกเด็ก ผู้ป่วยเบาหวาน โรคไต โรคเอดส์ และผู้สูงอายุ 2. การจัดสถานที่เหมาะสม หมายถึง 2.1 คลินิกทั้งสองประเภทไม่อยู่ติดกัน และ/หรือคลินิกให้บริการผู้ป่วยคนละวัน 2.2 ไม่ใช้ระบบปรบอากาศในคลินิกวัณโรค 2.3 คลินิกวัณโรคมีการระบายอากาศสู่ภายนอกได้ มีการเปิดหน้าต่าง
5 = มี 5 ข้อ 2.1,2.2 และ 2.3
4 = มี เฉพาะ 2.1 และ 2.2
3 = คลินิกวัณโรคอยู่ติดกับคลินิกผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ(เด็ก เบาหวาน โรคไต โรคเอดส์ ) แต่คลินิกวัณโรคให้บริการในช่วงบ่ายและมีข้อ 2.2 และ 2.3
2 = คลินิกวัณโรคอยู่ติดกับคลินิกผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ(เด็ก เบาหวาน โรคไต โรคเอดส์ ) แต่คลินิกวัณโรคให้บริการในช่วงบ่ายและมีข้อ 2.2 แต่ไม่มีข้อ 2.3
1 = คลินิกวัณโรคอยู่ติดกับคลินิกผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ(เด็ก เบาหวาน โรคไต โรคเอดส์ ) แต่คลินิกวัณโรคให้บริการในช่วงเช้าและมีข้อ 2.2 และ 2.3
0 = ไม่มีการจัดสถานที่ของคลินิกวัณโรคตามข้อ 2.1 ,2.2 และ 2.3
มาตรฐานที่ 8 การดำเนินงานวัณโรคและโรคเอดส์ (TB/HIV) 
8.1 ผู้ป่วยวัณโรคทุกรายที่ขึ้นทะเบียนรักษามีผลตรวจ HIV
5 = มากกว่าร้อยละ 90      4 = ร้อยละ 86-89     3 = ร้อยละ 81-85    2 = ร้อยละ 76-80
1 = ร้อยละ 71-75 0 = ต่ำกว่าร้อยละ 70
8.2 ผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอช ไอ วี ได้รับยาต้านไวรัสระหว่างรักษาวัณโรค
5 = ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป        4 = ร้อยละ 65-69     3 = ร้อยละ 60-64    2 = ร้อยละ 55-59
1 = ร้อยละ 50-54     0 = ต่ำกว่าร้อยละ 50
มาตรฐานที่ 9 การบริหารจัดการวัณโรคดื้อยา (Programmatic Management of Drug Resistant TB : PMDT) 
9.1 ผู้ป่วยที่มีประวัติการรักษาวัณโรคมาก่อน (History of previous treatment) (First – line drug susceptibility testing ) มีผลตรวจทดสอบความไวต่อยาวัณโรคแนวที่หนึ่ง
5 = ≥ร้อยละ 90      4 = ร้อยละ 85-89      3 = ร้อยละ 80-84      2 = ร้อยละ 75-79
1 = ร้อยละ 70-74 0 = ต่ำกว่าร้อยละ 70
9.2 ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (Confirmed MDR-TB) ได้รับการขึ้นทะเบียนครบถ้วนทุกราย และได้รับการรักษาถูกต้องทุกราย ได้แก่ 1.ขึ้นทะเบียนครบถ้วนทุกราย 2. ประเภทผู้ป่วยถูกต้องทุกราย 3. ได้รับการรักษาทุกราย 4. สูตรยาถูกต้องทุกราย 5. มีหลักฐานการส่งเพาะเลี้ยงเชื้ออย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงฉีดยา
 5 = มีครบ 5 ข้อ 4 = มีข้อ 1-4 3 = มีข้อ 1-3 2 = มีข้อ 1-2 1 = มีข้อ 1 0 = ไม่มีทุกข้อ
มาตรฐานที่ 10 การประเมินผลการรักษาวัณโรค (Treatment outcomes)
10.1 อัตราความสำเร็จของการรักษาในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เสมหะพบเชื้อ
5 = ≥ร้อยละ 90 4 = ร้อยละ 85-89 3 = ร้อยละ 80-84 2 = ร้อยละ 75-79 1 = ร้อยละ 70-74 0 = ต่ำกว่าร้อยละ 70
10.2 อัตราการขาดยา มากกว่า 2 เดือนติดต่อกัน ในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เสมหะพบเชื้อ
5 = ≤ร้อยละ 1 4 = ร้อยละ 2 3 = ร้อยละ 3 2 = ร้อยละ 4 1 = ร้อยละ 5 0 = มากกว่าร้อยละ 6

คลังบทความของบล็อก