03 ตุลาคม 2559

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกกันยายน 2559


สรุปสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลพรเจริญ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2559  ถึงวันที่  30 กันยายน 2559

พื้นที่
ประชากร
ป่วย
อัตราป่วยต่อแสน
ตาย
อัตราตาย
อัตราป่วยตาย
ศรีชมภู
4,540
9
198.24
0
0.00
0.00
ดอนหญ้านาง
4,666
40
857.27
0
0.00
0.00
พรเจริญ
12,136
37
304.88
0
0.00
0.00
หนองหัวช้าง
7,304
19
260.13
0
0.00
0.00
วังชมภู
4,159
8
192.35
0
0.00
0.00
ป่าแฝก
5,231
117
2,236.67
0
0.00
0.00
ศรีสำราญ
4,308
10
232.13
0
0.00
0.00
รวม
42,344
240
566.79
0
0.00
0.00

          สรุปรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2559 พบผู้ป่วยทั้งหมด 240 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 566.79 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต
          หมู่บ้านที่พบผู้ป่วยมาก 5 อันดับแรก ได้แก่ บ้านน้อยพัฒนา หมู่ 4 ต.ป่าแฝก 32 ราย,บ้านศรีมงคล หมู่ที่  5     ต.ป่าแฝก 28 ราย,บ้านใหม่ศรีชมภู หมู่ 1 ต.ป่าแฝก 22 ราย,บ้านศรีเจริญ หมู่ 7 ต.ป่าแฝก 19 ราย,บ้านดอนหญ้านาง หมู่ 1 ต.ดอนหญ้านาง 14 ราย
          กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 - 14  ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  77 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ  15 -  24  ปี  ,  5 - 9  ปี , 25 - 34  ปี , 35 - 44 ปี , 45 - 54  ปี, 55 -  64 ปี,0 - 4  ปี และ 65  ปี ขึ้นไป  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 51,40,22,16,15, 9, 7 และ 3 ราย ตามลำดับ
          อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือ นปค.  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  128  ราย  รองลงมาคือ   อาชีพเกษตร,   อาชีพนักเรียน,   อาชีพรับจ้าง,   อาชีพรับราชการ  จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ  53,44,13,2 ราย ตามลำดับ 
          พบผู้ป่วยสูงสุดในเดือน กรกฎาคมจำนวนผู้ป่วย เท่ากับ 68 ราย  จำนวนผู้ป่วยเดือนนี้( กันยายน ) น้อยกว่าเดือนที่แล้ว (สิงหาคม) จำนวนผู้ป่วยเดือนนี้ ( กันยายน ) เท่ากับ 21 ราย  ส่วนเดือนที่แล้ว (สิงหาคม ) เท่ากับ 37 ราย   โดยมีรายงานผู้ป่วยเดือน  มกราคม  9 ราย กุมภาพันธ์  4 ราย มีนาคม  4 ราย เมษายน  5 ราย พฤษภาคม  32 ราย มิถุนายน  60 ราย กรกฎาคม  68 ราย สิงหาคม  37 ราย กันยายน  21 ราย
ข้อเสนอแนะในการป้องกันโรคไข้เลือดออก  ดำเนินการตามมาตรการ 3 ก. ได้แก่
1. เก็บขยะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย  ได้แก่ ภาชนะที่ขังน้ำทุกชนิด
2. เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก  คือ ดูแลภายในบ้าน รอบๆให้ถูกสุขลักษณะ
3. เก็บปิดน้ำให้มิดชิดไม่ให้ยุงลายวางไข่ คือปิดฝาโอ่งน้ำกินน้ำใช้ให้สะอาด ปล่อยปลากินลูกน้ำยุงลาย
          โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนนี้ ป้องกันตนเองและลูกหลานไม่ให้เป็นไข้เลือดออกโดยไม่ให้ยุงกัด ช่วยกันทำลาย แหล่งเพาะพันธุ์ยุง ไม่ให้ยุงได้มีโอกาสแพร่พันธุ์มากขึ้น และหากพบว่ามีอาการป่วยและมีไข้เกิน 2 วัน กินยาลดไข้แล้วไข้ยังไม่ลดคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ซึ่งเป็นอาการ เบื้องต้นของไข้เลือดออก อย่ารอให้พบจุดเลือดใต้ผิวหนัง ให้รีบไปพบแพทย์ก่อนที่จะมีอาการรุนแรง

คลังบทความของบล็อก