08 กุมภาพันธ์ 2556

เตือนภัย“หยุดกรีดยางช่วงผลัดใบและแตกใบอ่อน”


เตือนภัย“หยุดกรีดยางช่วงผลัดใบและแตกใบอ่อน” เมื่อใบยางแก่และร่วงหล่น ต้นยางก็จะไม่มีใบสีเขียวที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างอาหารไปเลี้ยงต้นยางได้ แต่ช่วงที่ยางผลัดใบนี้ภายในต้นยางจะมีการเคลื่อนย้ายอาหารที่เป็นน้ำตาลและแป้งจากใบแก่ไปเก็บสะสมไว้ที่ลำต้น ทำให้เจ้าของสวนยังสามารถกรีดและเก็บผลผลิตน้ำยางได้บ้าง แต่เมื่อต้นยางเริ่มแตกใบอ่อน อาหารพวกแป้งหรือน้ำตาลที่เก็บสะสมไว้ที่ลำต้นนี้ จะถูกนำไปใช้ในการสร้างใบ หากเจ้าของสวนยังคงฝืนกรีดยางต่อไป จะเป็นการทำให้อาหารพวกแป้งและน้ำตาลที่ใช้ในการสร้างน้ำยางถูกแก่งแย่ง มักพบว่าในช่วงยางแตกใบอ่อนนี้ ผลผลิตน้ำยางจะลดลงจนไม่คุ้มค่ากับการกรีด ขณะเดียวกัน การที่ฝืนกรีดยางช่วงยางแตกใบใหม่จะทำให้อาหารในต้นยางไปสร้างใบได้ไม่เพียงพอ ต้นยางก็ไม่สามารถสังเคราะห์แสงสร้างอาหารได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้ต้นยางไม่สมบูรณ์ ทั้งยังเป็นการทรมานต้นยาง และนำไปสู่การเกิดอาการเปลือกแห้ง หรือกรีดแล้วไม่มีน้ำยางในระยะเวลา 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งการกรีดยางในช่วงผลัดใบ ทำให้ต้นยางสูญเสียธาตุอาหารและพลังงานที่จะนำมาบำรุงต้นยางและสร้างใบใหม่ ถึงแม้เจ้าของสวนจะพยายามใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้นในฤดูฝนก็ไม่สามารถทดแทนได้ จากการทดลองกรีดยางตลอดทั้งปี โดยไม่หยุดกรีดในช่วงยางผลัดใบและแตกใบใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนานติดต่อกัน 3 ปี พบว่าทำให้ต้นยางเกิดอาการเปลือกแห้ง หรือ ต้นยางหน้าตาย เพิ่มขึ้นมากกว่า 70% ภายในเวลา 3 ปี ต่อมา ดังนั้นถ้าเจ้าของสวนอยากกรีดยางได้อย่างยั่งยืน นาน 20 ปีขึ้น และต้นยางไม่โทรมจนเกินไป ควรหยุดกรีดยางทันทีที่ใบยางร่วงเกือบหมด แล้วเริ่มกรีดอีกครั้ง เมื่อใบยางที่แตกใหม่เจริญเต็มที่และเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้

คลังบทความของบล็อก