28 มกราคม 2556

สรุปงบกองทุนวัณโรคปี 2556

การบริหารงบบริการผู้ป่วยวัณโรค ปี 2556 
1. การเบิกยาทุกรายการ  ต้องบันทึกข้อมูลการบริการผ่านโปรแกรม TB DATAHUB
2. การตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน ชดเชยเป็นเงินเพิ่มจากงบเหมาจ่ายรายหัว ให้หน่วยบริการตามผลงานที่บันทึกข้อมูลผ่าน TB DATA HUB
3.ภาระงานบันทึกข้อมูล จ่ายชดเชยในอัตรา 10 บาท / visit ทุกสิทธิ และทุก visit ที่บันทึกข้อมูลผ่าน TB DATAHUB ครบตามตัวแปรและเวลาที่กำหนด
4.การกำกับติดตามดูแลรักษา ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่คณะทำงานในระดับเขตเห็นชอบ
5.การค้นหาผู้ป่วยวัณโรค ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่คณะทำงานในระดับเขตเห็นชอบ
ในปี 2555 โรงพยาบาลหลายๆแห่งมีปัญหาเรื่องการบันทึกข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยวัณโรค  สสจ.บึงกาฬ จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการโปรแกรม TB Clinic Management(TB-CM) เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2555 เพื่อให้มีแนวทางการบันทึกข้อมูลในแนวทางเดียวกัน และส่งออกข้อมูลเข้าโปรแกรม TB DATA HUB ต่อไป ในส่วนของคลินิกวัณโรค ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลพรเจริญ โรงพยาบาลพรเจริญปี 2555 บันทึกข้อมูลในโปรแกรม HOSXP ไม่สามารถนำข้อมูลเข้าโปรแกรม TB DATA HUB ได้ จึงจำเป็นต้องบันทึกข้อมูลการให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ในโปรแกรม TB-CM จำนวนทั้งหมด 64 ราย แต่ละรายจำเป็นต้องสืบค้นข้อมูลจาก OPD GARD ทะเบียนตรวจเสมหะของห้องชันสูตร และติดตามสอบถามข้อมูลจากคนไข้  ซึ่งในปี 2556 งบบริการผู้ป่วยวัณโรค จะจ่ายชดเชยให้หน่วยบริการล่วงหน้า โดยอิงผลงานปี 2555 โดยให้บันทึกส่งข้อมูลผ่านโปรแกรม TB DATA HUB ส่งข้อมูลภายใน 31 ธันวาคม 2555 ด้วยความจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลจากปี 2555 เพื่อให้ สปสช.มีข้อมูลในการจัดสรรงบประมาณดำเนินการปี 2556  ภาระงานที่เพิ่มขึ้นแต่เจ้าหน้าที่ลดลงและต้องดำเนินการย้อนหลังให้ทันเวลาที่กำหนด จึงให้เจ้าหน้าที่ขึ้นปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ บันทึกข้อมูลโปรแกรมบริหารงานวัณโรค จนแล้วเสร็จ และส่งออกข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องต่อไป

คลังบทความของบล็อก