10 เมษายน 2552

ความรู้ เรื่องวัณโรค

ความรู้ เรื่องวัณโรคสำหรับ อสม. และประชาชน
1. วัณโรค เกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย เป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย แต่ร้อยละ 80 มักจะเกิดที่ปอด
2. เชื้อวัณโรคจากผู้ป่วยแพร่ ติดต่อ สู่คนปกติ ทางอากาศ โดยวิธี หายใจ , ไอ , จาม รดกัน
3. ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ได้แก่
- ผู้สัมผัสร่วมบ้าน
- ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น DM , ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วย Aids , ไตวาย
4. อาการของผู้ป่วยวัณโรค
ที่สำคัญ ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์
และอาการอื่นๆ ร่วม ไอเป็นเลือด หรือมีเสมหะปนเลือด
ไข้ตอนบ่ายหรือเย็น
อ่อนเพลีย เบื่ออาหารน้ำหนักลด
มักมีเหงื่อออกตอนกลางคืน
5. วิธีป้องกันไม่ให้เป็นวัณโรค
• นำเด็กแรกเกิดไปรับวัคซีน BCG
• ผู้อยู่ร่วมบ้าน TB ต้องตรวจเสมหะ และ X – ray ปอดปีละครั้ง
• จัดที่อยู่อาศัยผู้ป่วย TB ให้อากาศถ่ายเทสะดวก และแสงแดงส่องถึง
• มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เพื่อป้องกันโรค เบาหวาน ไตวาย Aid
6. เมื่อป่วยเป็นวัณโรค ต้องใช้เวลารักษา 6 เดือน
7. การปฏิบัติตัวที่สำคัญ เมื่อป่วยเป็นวัณโรค คือ ห้ามหยุดยา เพราะจะทำให้ กลายเป็น
วัณโรคดื้อยา และจะรักษายากขึ้น
8. DOT คือ การรักษาวัณโรคด้วยยาระยะ สั้น แบบมีพี่เลี้ยง หมายถึง มีผู้ดูแลการกินยาของผู้ป่วย
9. หัวใจสำคัญของการควบคุมวัณโรค ด้วยระบบยา ระยะสั้น แบบมีพี่เลี้ยง ( DOT )
1. ผู้ป่วยได้รับการกินยาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
2. การมีส่วนร่วมของชุมชนและญาติของผู้ป่วย
3. ความสะดวกในการมารับบริการและการยอมรับการรักษาของผู้ป่วย
4. การควบคุม คุณภาพให้บริการ และ การรักษาผู้ป่วย
10. การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคในช่วงการรักษา 2 เดือนแรก ต้องเยี่ยม ทุกสัปดาห์ หรือเดือนละ 4 ครั้ง เนื่องจากเป็นระยะเข้มข้นของการรักษา ผู้ป่วยอาจมีผลข้างเคียงจากการกินยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นคัน จะได้ให้คำแนะนำได้
11. บทบาทของ อสม. สามารถเป็นพี่เลี้ยงผู้ป่วยวัณโรคได้โดยทำหน้าที่
1. ให้ผู้ป่วยกินยาต่อเนื่อง และบันทึกการกินยา
2. สังเกตหรือถามผู้ป่วยถึงอาการแพ้ยา
3. ให้กำลังใจ เป็นที่ปรึกษาด้านสังคม

คลังบทความของบล็อก