31 กรกฎาคม 2553

MV เพลง สาวโรงพยาบาลรำพัน



สาวโรงพยาบาลรำพัน

17 กรกฎาคม 2553

คลิปลับคำสั่งให้ใส่ร้ายทักษิณและคนเสื้อแดง



เสียงนายกคนหนึ่งสั่งในค่ายทหาร ก่อนเหตุการณ์สงกรานต์เลือด

12 กรกฎาคม 2553

สถานการณ์ระบาดวิทยา ปี 2553

สถานการณ์ระบาดวิทยา
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลพรเจริญ จังหวัดหนองคาย
สถานการณ์โรคของประเทศไทย(รง.506) ข้อมูล ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2553
 มีรายงานผู้ป่วย 29,432 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 46.33 ต่อประชากรแสนคน
 มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 32 ราย
 คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.11
จำแนกรายภาคดังนี้
1. ภาคเหนือ ผู้ป่วย 3,258 ผู้ป่วยตาย 4 อัตรป่วยต่อแสน 27.68
2. ภาคอีสาน ผู้ป่วย 7,713 ผู้ป่วยตาย 6 อัตรป่วยต่อแสน 35.88
3. ภาคกลาง ผู้ป่วย 10,626 ผู้ป่วยตาย 7 อัตรป่วยต่อแสน49.55
4. ภาคใต้ ผู้ป่วย 7,835 ผู้ป่วยตาย 15 อัตรป่วยต่อแสน 88.89
สถานการณ์โรคของสาธารณสุขเขต 10 (วันที่ 1 มกราคม – 19 มิถุนายน 2553)
 จังหวัดหนองคาย มีอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกสูงเป็นอันดับที่ 4 หรืออันดับสุดท้ายของเขต อันดับที่ 14 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอันดับที่ 57 ของประเทศไทย
สถานการณ์โรคของจังหวัดหนองคาย (วันที่ 1 มกราคม – 28 มิถุนายน 2553)
 มีรายงานผู้ป่วย 298 ราย ใน 15 อำเภอ คิดเป็นอัตราป่วย 32.85 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต (เป้าหมายป่วยไม่เกิน 232 ราย หรืออัตรา 26.67 ต่อประชากรแสนคน
 อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูง 5 อันดับแรก คือ อำเภอบุ่งคล้า 169.8 ต่อแสน (22 ราย) สังคม 101.4 ต่อแสน (24 ราย) บึงโขงหลง 84.5 ต่อแสน (30 ราย) บึงกาฬ 60.4 ต่อแสน (52 ราย) และ พรเจริญ 57.3 ต่อแสน (24 ราย) อำเภอที่ยังไม่มีรายงานพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก คือ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอโพธิ์ตาก

สถานการณ์ โรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลพรเจริญ กรกฎาคม 2553

09 กรกฎาคม 2553

คู่มือการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบเอสบีอาร์(SBR) PCU โรงพยาบาลพรเจริญ

ทบทวนแนวคิดที่สำคัญของระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบเอสบีอาร์ (SBR)
ระบบเอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor)
หลักการทำงาน

ระบบเอสบีอาร์ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียทางชีววิทยาแบบตะกอนเร่ง รูปแบบหนึ่งที่ถังเติมอากาศเป็นแบบปล่อยน้ำเสียให้เข้าสู่ถังเติมอากาศให้เต็มก่อน จากนั้นปิดถังและเติมอากาศสลับกัน หยุดการเติมอากาศให้เกิดการตกตะกอนในถังเติมอากาศเพราะถังตกตะกอนและถังเติมอากาศเป็นถังเดียวกัน เมื่อบำบัดจนครบวงจรแล้วจึงระบายน้ำใสไปยังถังเติมคลอรีนและปล่อยออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะต่อไป
ลักษณะการทำงานของถังปฏิกิริยา(ถังเติมอากาศและตกตะกอน) แบ่งเป็น 5 ช่วง คือ
1.ช่วงเติมน้ำเสีย (Fill) เป็นช่วงที่มีการเติมน้ำเสียเข้าสู่ถังปฏิกิริยาที่มีน้ำตะกอนจุลินทรีย์จากวงจรการทำงานก่อนหน้านี้ การเติมน้ำเสียทำให้ระดับน้ำในถังปฏิกิริยาสูงขึ้น จากเดิมที่มีอยู่ตั้งแต่ร้อยละ 20-100 โดยปริมาตรถัง ช่วงเวลาการเติมน้ำเสียจะขึ้นอยู่กับอัตราการไหลตามธรรมชาติของน้ำเสียนั้น หรือความสามารถของเครื่องสูบน้ำ
2.ช่วงทำปฏิกิริยา (React) เป็นช่วงที่เกิดปฏิกิริยาบำบัดน้ำเสีย อาจจะมีการกวนหรือการเติมอากาศในถังปฏิกิริยา ระยะเวลาที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาจะขึ้นกับคุณภาพน้ำทิ้ง(effluent) ที่ต้องการแต่ต้องมีระยะเวลาที่เพียงพอที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์
3.ช่วงตกตะกอน (Settle) เป็นช่วงที่เกิดการแยกตัวของตะกอนออกจากน้ำใสโดยช่วงนี้จะไม่มีการรบกวนจากการเติมอากาศหรือการกวนระยะเวลาในการตกตะกอนไม่ควรนานเกินไปเพื่อป้องกันปัญหาตะกอนลอยตัว
4.ช่วงระบายน้ำทิ้ง (Draw, Decant) เป็นช่วงระบายน้ำใสที่ผ่านการบำบัดแล้วออกจากถังปฏิกิริยา ระยะเวลาการระบายขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบแต่ไม่ควรใช้เวลานานเกินไปและไม่ควรมีตะกอนหลุดออกจากถังปฏิกิริยา
5.ช่วงพักระบบ (Idle) เป็นช่วงการพักระบบเพื่อรองรับน้ำเสียที่จะเข้ามาสู่การบำบัดในถังปฏิกิริยา ช่วงนี้อาจมีการเติมอากาศหรือการกวนซึ่งช่วงพักระบบนี้อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ระบบ กรณีที่มีน้ำทิ้งมากอาจจะต้องมีถังปฏิกิริยามากกว่า 1 ถัง โดยถังแต่ละถังจะทำหน้าที่ไม่เหมือนกันเพื่อให้สามารถรับและบำบัดน้ำเสียได้อย่างต่อเนื่อง

องค์ประกอบของระบบเอสบีอาร์
1.บ่อสูบน้ำเสีย ประกอบด้วย ตะแกรงดักขยะ หรือกล่องดักขยะ ที่สามารถยกขึ้นมาจากก้นบ่อเพื่อกำจัดขยะ และเครื่องสูบน้ำที่สามารถควบคุมการทำงานได้ทั้งแบบอัตโนมัติและแบบธรรมดา ในบ่อสูบน้ำเสียนอกจากมีน้ำเสียที่ไหลมาจากระบบท่อระบายน้ำของโรงพยาบาลแล้ว ยังมีน้ำเสียบางส่วนที่ไหลมาจากบ่อกำจัดรก ห้องน้ำห้องส้วมในห้องควบคุมระบบและน้ำเสียจากลานตากตะกอน
2.บ่อกำจัดรก เป็นบ่อที่เกิดปฏิกิริยาย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนทำให้เกิดกลิ่นเหม็น
3.ถังเติมอากาศ (Aeration tank)
3.1 ถังเติมอากาศ (Aerator) ของระบบเอสบีอาร์เมื่อหยุดการเติมอากาศจะเป็นถังตกตะกอนในถังเดียวกัน มีการควบคุมการเติมอากาศโดยเครื่องตั้งเวลา (timer) และสวิตส์ลูกลอยไฟฟ้าภายในถังเติมอากาศ
3.2 เครื่องสูบตะกอน ที่อยู่ภายในถังเติมอากาศมีหน้าที่สูบตะกอนที่มากเกินพอในช่วงหยุดการเติมอากาศเพื่อส่งไปยังลานตากตะกอน ความถี่และระยะเวลาในการสูบตะกอนขึ้นอยู่กับปริมาณตะกอน
3.3 เครื่องสูบน้ำใส เป็นเครื่องที่มีหน้าที่สูบน้ำใสส่งต่อไปยังถังฆ่าเชื้อโรค ซึ่งควบคุมโดยเครื่องตั้งเวลา
3.4 ถังฆ่าเชื้อโรค เป็นถังสี่เหลี่ยมทางด้านน้ำเข้ามีแผ่นเวียร์ (weir) เพื่อใช้วัดอัตราการไหลของน้ำทิ้ง นอกจากนั้นควรมีการเตรียมถังสารละลายคลอรีนสำหรับฆ่าเชื้อโรคด้วย
3.5 ลานตากตะกอน มีลักษณะเป็นลานทราย (sand drying beds) ที่ใช้สำหรับตากตะกอนที่สูบจากบ่อตกตะกอนเพื่อนำไปกำจัดต่อไป

คลังบทความของบล็อก